“เตือน”ภัยธรรมชาติ

เตรียมพร้อมเสมอกับภัยสึนามิ

630 630 (1)

แม้จะผ่านมา 8 ปีแล้วก็ตาม สำหรับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ทำให้เราทุกคนยังคงจดจำและความเศร้าโศกของเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะครั้งนั้นหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต้องสูญเสียชีวิตผู้คนและทรัพย์สินจำนวนมาก โดยเกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรอินเดียบริเวณด้านตะวันตกของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนทำให้พื้นที่บริเวณเกาะสุมาตราได้รับความเสียหาย และกระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดียประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ อินโดนีเซีย รองลงมาศรีลังกา อินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ

หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นประเทศไทยได้ทำการติดตั้งระบบเตือนภัยขึ้น เพื่อให้รับทราบถึงการเกิดคลื่นสึนามิ และมีเวลาเพียงพอที่จะอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ติดตั้งทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ 3 ทุ่น สำหรับ 2 ทุ่นแรก อยู่ที่บริเวณห่างจากเกาะสุรินทร์ จ.พังงา และห่างจาก จ.ภูเก็ต ใกล้เขตประเทศมาเลเซีย และส่วนอีก 1 ทุ่น วางไว้บนแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวกลางมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากชายฝั่ง จ.ภูเก็ต 1,000 กิโลเมตร พร้อมทั้งตั้งหอเตือนภัย 136 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันและยังมีหอเตือนภัยอีก 144 แห่งในฝั่งอ่าวไทย นอกจากจะใช้เตือนภัยสึนามิแล้ว ยังใช้ในการเตือนภัยคลื่นสูงยกตัวขึ้นฝั่งและพายุด้วย

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ระบบทุ่นตรวจวัดจะส่งข้อมูลมาให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และประเมินร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศว่า ทิศทางและความรุนแรงจะเข้าฝั่งที่ใดบริเวณไหนใช้เวลานานเท่าไหร่ที่คลื่นสึนามิจะเข้าฝั่ง โดยการประมวลผลใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที สามารถส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังหอเตือนภัยที่จัดตั้งไว้ได้ทันสถานการณ์ ในกรณีที่ต้องอพยพคนในพื้นที่ โดยการแจ้งเตือนยังได้ส่งไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ โดังนั้นทุกส่วนต้องทำงานประสานกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระบบที่ถูกวางไว้มีเป้าหมายหลักที่ช่วยไม่ให้เกิดการสูญเสียชีวิต แม้ว่าการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิขนาดใหญ่ที่มีอำนาจทำลายล้างมหาศาลจะเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งก็ตาม แต่กลับปรากฏว่าหอเตือนภัยสึนามิ ในเขตพื้นที่  หลายจุดอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ขาดการดูแลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ยังไม่นับรวมจุดหลบภัยและป้ายบอกเส้นทางที่ขาดการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพใช้การได้ แต่ทุกฝ่ายไม่ว่ารัฐ เอกชนหรือกระทั่งประชาชนในพื้นที่ ต้องตระหนักว่าเมื่อมีระบบแล้วต้องหมั่นตรวจสอบให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ พร้อมซักซ้อมเตือนภัยอยู่เสมอ เพื่อเรียกความเชื่อมั่น และอย่าละเลยจนทำให้เครื่องมือเตือนภัยเป็นใช้การไม่ได้ เพราะนั้นอาจเกิดเป็นความประมาทที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมซ้ำสองได้

BY :  52019008 KAMONMAS  KAEWSRI

Credit

ใส่ความเห็น